กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคาร ธุรกิจโรงแรม 2566
top of page

เช็คเลย! กฎกระทรวงใหม่ ควบคุมความปลอดภัยอาคาร “ธุรกิจโรงแรม”

“ธุรกิจโรงแรม” เช็คด่วน “ราชกิจจาฯ” เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยอาคารที่ใช้ประกอบ “ธุรกิจโรงแรม” เผย “แพ เต็นท์ ห้องพัก ยึดตามหน้าผา” ต้องอยู่ในข่ายควบคุมความปลอดภัย


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ กฎกระทรวง กำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัย ของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2566 ลงนามโดย "พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา" รมว.มหาดไทย ให้มีผลบังคับใช้


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้

“โรงแรม ” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

“ห้องพัก” หมายความว่า ห้องพักของโรงแรมที่จัดไว้เพื่อประโยชน์ในการพักอาศัยเป็นการชั่วคราว ของผู้พัก

“ห้องพักรวม ” หมายความว่า ห้องพักและบริเวณหรือพื้นที่ของโรงแรมที่มีผู้พักตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป โดยคิดค่าบริการรายคนและมีการใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม โถงทางเดิน


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

“อาคารลักษณะพิเศษ” หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ เพื่อใช้เป็นโรงแรมที่มีลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วน ขนาด หรือเนื้อที่ แตกต่างจากอาคารที่ใช้เพื่อ การอยู่อาศัย หรือใช้สอย หรือใช้ประโยชน์ตามปกติทั่วไป ดังต่อไปนี้

(๑) แพหรือสิ่งใด ๆ ที่นำมาใช้ประกอบหรือสร้างให้เป็นรูปร่างลอยอยู่ในน้ำได้เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบธุรกิจโรงแรม โดยสิ่งดังกล่าวมีลักษณะอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนที่ด้วยตนเองได้ และไม่มีโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งนั้นยึดติดตรึงกับพื้นดินให้อยู่กับที่เป็นการถาวรไม่ว่าจะเป็น พื้นดินใต้น้ำหรือพื้นดินที่ติดต่อกับทางน้ำ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงเรือที่มีลักษณะเดียวกัน


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

(๒) สิ่งที่สร้างขึ้นหรือประกอบขึ้น โดยใช้ผ้าใบ เส้นใย หรือวัสดุแผ่นบาง เป็นส่วนประกอบ ของโครงสร้าง ผนัง หรือหลังคา เช่น เต็นท์ โครงสร้างแบบอัดอากาศ

(๓) ซากยานพาหนะที่นำมาปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอย หรือสิ่งที่ประกอบให้เป็น รูปทรงคล้ายยานพาหนะ เช่น รถหรือส่วนพ่วง รถไฟ เครื่องบิน เรือ

(๔) ชิ้นส่วนวัสดุสำเร็จรูปที่นำมาประกอบหรือติดตั้ง เช่น ท่อคอนกรีตสำเร็จรูป ตู้คอนเทนเนอร์

(๕) สิ่งที่สร้างขึ้นที่มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ ๒.๐๐ เมตรขึ้นไป โดยมีการแขวน การเกาะเกี่ยว การยึดโยง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน โดยมีการถ่ายแรงกระทำกับสภาพธรรมชาติ หรือโครงสร้างหรือสิ่งก่อสร้างอื่นใด เช่น ห้องพักบนต้นไม้ ห้องพักที่แขวนไว้กับเสาหรือเครน ห้องพักที่ยึดโยงไว้กับหน้าผา


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

หมวด ๑ โครงสร้างหลัก บันได และวัสดุของอาคาร


ข้อ ๒ โรงแรมต้องมีโครงสร้างหลักที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุก ได้อย่างปลอดภัย และต้องใช้วัสดุในการก่อสร้างอาคาร

ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้

(๑) กฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำหนดการออกแบบโครงสร้างอาคารและลักษณะและคุณสมบัติ ของวัสดุที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคาร

(๒) กฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำหนดฐานรากของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคาร

(๓) กฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ เว้นแต่จะได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้เป็นการเฉพาะ

(๔) กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดิน ที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๖๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

ข้อ ๓ โรงแรมที่มีมากกว่าสามชั้นต้องมีโครงสร้างหลักและผนังของอาคาร ที่ทำด้วยวัสดุถาวร ที่เป็นวัสดุไม่ติดไฟ โครงสร้างหลักตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบันไดด้วย


ข้อ ๔ บันไดต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) โรงแรมตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป บันไดต้องมีความกว้าง ระยะดิ่งของบันได ชานพักบันได พื้นหน้าบันได ลูกตั้ง ลูกนอน และราวบันได ตามที่กำหนดในข้อ ๒๔ ข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(๒) โรงแรมสองชั้นที่มีจำนวนห้องพักในอาคารหลังเดียวกันไม่เกิน ๑๐ ห้อง และจำนวน ผู้พักไม่เกิน ๒๐ คน ถ้ามีบันได บันไดต้องมีความกว้าง ระยะดิ่งของบันได ชานพักบันได พื้นหน้าบันได ลูกตั้ง และลูกนอน ตามที่กำหนดในข้อ ๒๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม


กฎกระทรวงควบคุมความปลอดภัยอาคารโรงแรม หมวด 2

เหตุผล


การประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ รูปแบบการประกอบธุรกิจโรงแรม เปลี่ยนแปลงไปจากการประกอบธุรกิจโรงแรมแบบดั้งเดิม รูปแบบ ลักษณะ และรูปทรงของอาคารที่ใช้ประกอบ ธุรกิจโรงแรมมีความหลากหลาย รวมทั้งมีการนำสิ่งปลูกสร้างอื่นมาให้บริการที่พักแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ในลักษณะโรงแรมมากยิ่งขึ้น


ดังนั้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่พักหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับความปลอดภัย เมื่อเข้าใช้อาคารหรือเข้าใช้บริการ สมควรกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่จะนำมาใช้ ประกอบธุรกิจดังกล่าวให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวงนี้


คลิกอ่านกฎกระทรวงฉบับเต็มที่นี่

กฎกระทรวง กำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัย ของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2566
.pdf
Download PDF • 179KB

========================


ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของพวกเราได้ที่นี่


bottom of page