top of page

Personal Space ชีวิตยุคใหม่ : Design After Covid-19 I Ep.01



การปรับตัวในชีวิตยุคใหม่ในยุคโควิด-19


ล็อคดาวน์ปิดเมืองกันมาเดือนนึงแล้ว

หลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้เปิดกิจการกันได้

พวกเราร้านค้าทั้งหลายควรจะปรับตัวอย่างไร

เพื่อรองรับการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากนี้

ช่วงที่พักจากการทำธุรกิจ

นั่งอยู่บ้าน Work from Home มาสักพัก

คงได้ยินได้ฟังหลายๆคนพูดถึงสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนี้

ในแง่ของวิถีชีวิต / การทำงานทางไกล /

digital transformation / digital disruption / new normal

และอีกหลายต่อหลายคำที่พูดกันเยอะมาก

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันคงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ

ไม่ใช่สิ... มันเกิดขึ้นแล้ว และกำลังเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมเองในฐานะนักออกแบบและคนทำธุรกิจ ก็ติดตามข่าวอยู่ตลอด

เวลาพักสมอจากงานออกแบบแล้ว

ก็นั่งคิดนอนคิดถึงแนวทางการออกแบบในอนาคต

ตอนแรกก็ยังไม่ค่อยเห็นหนทางเท่าไหร่

เพราะสภาวะสังคมก็ดูจะตื่นกลัวเรื่องความปลอดภัยมาก

แน่นอนครับเรื่องความเป็นความตายย่อมมาก่อนสิ่งอื่น

แต่ตอนนี้ที่ภาวะต่างๆเริ่มคลี่คลายความตึงเครียดและกังวลลงบ้าง

และรัฐเริ่มผ่อนคลายเตรียมให้เปิดกิจการในธุรกิจหลายอย่าง

เราจะทำยังไงกันดี

 

มุมมองจากประสบการณ์ส่วนตัวจากการทำงานออกแบบ

Commercial Spaceในหลายๆธุรกิจที่ผ่านมา

ผมมองว่านอกเหนือจากการกำหนดต่างๆของรัฐแล้ว

เราคงต้องมองที่ลูกค้าของเราเป็นหลักว่าต้องการอะไร

แล้วเราจะนำเสนอบริการอย่างไรให้เค้าสบายใจที่จะเข้ามาใช้บริการ


เรื่องแรกที่อยากคุยในวันนี้คือเรื่อง

Personal Space

จากช่วงก่อนที่เราฮิต Common Space กันมากๆ

ไม่ใช่แค่ Co-Working Space

แต่ไปถึง Co-Living Co-Cooking กันแล้ว

ตอนนี้คงต้องมานั่งทวนการจัดพื้นที่กันใหม่

เพราะกฎกติกาของสังคมใหม่จะให้เราต้องมีระยะส่วนตัวมากขึ้น


ร้านอาหาร

Unsplash.com I @shawnanggg

คำว่า personal space คงไม่ใช่แค่ว่าให้ลูกค้านั่งโต๊ะเว้นโต๊ะ

เอาเก้าอี้ออก หรือแปะเทปกาวกันไว้


อันนั้นมันการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า...


แต่ว่าการเปิดร้านเพื่อบริการลูกค้าอีก 12-18 เดือน

กว่าจะวัคซีนด้วยสภาพแบบนี้คงไม่ค่อยเหมาะ

ผมว่าลูกค้าก็คาดหวังจะได้นั่งรับประทานอาหารอยู่ในบรรยากาศที่ดี

ไม่ใช่เหมือนร้านกำลังจะเจ๊ง (และแน่นอนด้วยภาพแบบนั้นยิ่งเป็นลางไม่ดี)

เพราะฉะนั้น เราควรปรับเปลี่ยน Layout ของร้านใหม่

ถ้าเป็นร้านที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

ก็อาจจะใช้เฟอร์นิเจอร์เดิมมาวางใหม่ให้ห่างกันมากขึ้น

แล้วเพิ่มการตกแต่งมาเสริมส่วนที่โล่งนั้น

ทำให้การกินข้าวที่ร้านไม่ดูอ้างว้างเดียวดายจนเกินไป

ลูกค้าก็จะรู้สึกดีขึ้นมาอีกเยอะเลย


หรือไม่ทำให้ห่างกันแต่ทำ Partition แบ่งพื้นที่ให้แยกกัน

แต่ลดจำนวนโต๊ะลง เพื่อไม่ให้แออัด

แล้วปรับเอาพื้นที่ว่างเปล่านั้นไปเป็นพื้นที่อย่างอื่นแทน

เช่นแบ่งพื้นที่ให้กับการรองรับการสั่งแบบดิลิเวอรี่

เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และไม่รบกวนกัน

หรือจัดเป็นส่วนพักคอยของลูกค้าเป็นต้น

 

พื้นที่สำนักงาน


การใช้พื้นที่สำนักงานอาจจะผ่อนคลายกว่า

เพราะส่วนมากเป็นคนคุ้นเคยกัน

แต่ก็ยังต้องมีความระมัดระวังกันมากขึ้น


และแน่นอนครับ การได้ลอง Work from Home ในหลายองค์กรที่ได้ผลดี

คงทำให้บางคนยังต้องทำงานทางไกลต่อไป

การจัดพื้นที่ให้พนักงานสามารถประชุมทางไกลได้สะดวกเป็นเรื่องสำคัญ

ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม

การใช้ห้องประชุมย่อยๆก็น่าจะบ่อยขึ้น

พื้นที่ทำงานเดิมที่เคยเน้นให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางใช้ร่วมกันก็จะลดความสำคัญลง

แบ่งที่นั่งให้เป็นทีมย่อยๆ หรือมุม Video Conference แบบเดี่ยว

ร้านค้า



ผมว่าร้านที่แออัดคงเป็นภาพที่น่ากังวลในอนาคต

คงต้องเริ่มด้วยการปรับการจัดวางชั้นโชว์ให้ทางเดินโล่งขึ้น


แต่ไม่ต้องกังวล แม้ลดปริมาณชั้นลงเพื่อแต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะโชว์ของได้น้อยลง

ถ้าเราให้กรออกแบบจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนขึ้น ลดการโชว์ของซ้ำซ้อน

จัดวางให้สินค้าดูเด่น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้ลูกค้าเห็นสินค้าได้

เราจะได้ร้านที่โล่งขึ้นแต่มีประสิทธิภาพในการขายได้มากขึ้น


รวมถึงการจำกัดปริมาณลูกค้าที่เข้ามาในร้านแต่ละช่วงเวลาให้พอดี

ให้แต่ละคนมีพื้นที่ในการเลือกสินค้าอย่างสบายใจ


ต่อไปการต่อคิวเข้าร้านแบบหลุยส์วิตตองจะเป็นภาพปกติที่เห็นได้ในทุกๆร้าน...

 

เพราะฉะนั้น

สิ่งแรกที่คุณควรทำเลย

คือปรับผังการวางและการสัญจรก่อนเลย

นอกจากให้บริการแล้วคุณต้องให้ Personal Space กับลูกค้าด้วย

แล้วลดความสูญเปล่าของพื้นที่

แล้วเอากลับมาสร้างประโยชน์ในมุมอื่นแทน

จะช่วยให้อะไรดีขึ้นมากครับ

อย่ายึดติดกับความคิดว่าเดี๋ยวโรคหายทุกอย่างก็กลับมาเป็นแบบเดิม

เราเห็นกันแล้วว่าเพียงแค่ 1-2 เดือนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนในโลกไปแล้วขนาดนี้

ขบวนรถรถไฟที่ชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่คอยใครนะครับ


ติดตามตอนต่อไปนะครับ

..........

. อัปเดตและติดตามข่าวสารของพวกเราได้ที่

Line : @collectivestudio Messenger : m.me/thecollectivestudio Instagram : http://bit.ly/3bECtyL Twitter : https://twitter.com/CollectiveBKK Website : https://www.ctstu.com Youtube : http://bit.ly/2vDXgC8

ดู 124 ครั้ง

Comentarios


Los comentarios se han desactivado.
bottom of page