ความแตกต่างของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์
top of page

ความแตกต่างของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์


อินทีเรียดีไซน์


ขอบเขตและความรับผิดชอบที่แตกต่างกันของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์

ในโลกของการออกแบบดีไซน์มีคำกล่าวที่ว่า “บ้านเปรียบเสมือนกับชิ้นงานศิลปะ” ที่จิตรกรแต่ละคนต่างทุ่มเทความเชี่ยวชาญและความสามารถเฉพาะตัวในการสร้างสรรค์และวาดลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ลงบนผืนผ้าของพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ และท่ามกลางจิตรกรมากมาย สถาปนิกและนักออกแบบภายใน (อินทีเรียดีไซน์) คือ สองจิตรกรคนสำคัญที่ทำให้กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะดังกล่าวสามารถเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ


โดยถึงแม้ว่า สถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์ จะมีเป้าหมายร่วมกันในการรังสรรค์พื้นที่บ้านพักและที่อยู่อาศัยให้เต็มเปี่ยมไปแรงบันดาลใจ ความดึงดูดใจ และประโยชน์ใช้สอยที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ทว่าเส้นทางที่ต้องมุ่งเน้น ตลอดจนทักษะและความรับผิดชอบของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์นั้นก็ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป


ในบทความนี้ The Collective จะพาทุกคนมาร่วมเจาะลึกข้อแตกต่างที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดความเป็นสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์ เพื่อทำความเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์แต่ละคนได้มากยิ่งขึ้น



ไขข้อสงสัย! สถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์แตกต่างกันอย่างไร ?

  1. หลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรม สถาปนิก: เส้นทางสู่การเป็นสถาปนิกนับได้ว่าเป็นเส้นทางที่มีความเข้มข้นกว่าอินทีเรียดีไซน์เป็นอย่างมาก เพราะเส้นทางของการศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรม ไม่ได้เป็นเพียงแค่เส้นทางสู่การสร้างรากฐานในด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สถาปนิกทุกคนจะได้เรียนรู้ในด้านของวิศวกรรมโครงสร้าง หลักการออกแบบ และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ที่จะช่วยทำให้สถาปนิกทุกคนสามารถมองเห็นและออกแบบความว่างเปล่า (Space) ให้มีชีวิตขึ้นมาได้ภายใต้ปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบด้านความปลอดภัย และการวางแผนเชิงพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ สถาปนิกทุกคนยังจำเป็นที่จะต้องได้รับประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติผ่านการฝึกงาน และต้องทำการสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือ ใบ ก.ส. เพื่อนำมาใช้เป็นเอกสารรับรองในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบอีกด้วย อินทีเรียดีไซน์ : นักออกแบบภายใน หรือ อินทีเรียดีไซน์ มักจะเริ่มต้นเส้นทางของการเป็นอินทีเรียดีไซน์ผ่านการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาการออกแบบตกแต่งภายในหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และเสริมด้วยการฝึกงานเพื่อการได้รับประสบการณ์ตรงในสายงานอินทีเรียดีไซน์ โดยการศึกษาของอินทีเรียดีไซน์จะมุ่งเน้นไปที่การฝึกฝนทักษะในการวางแผนเชิงพื้นที่ ทฤษฎีสี และความรู้เกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ เพื่อช่วยให้อินทีเรียดีไซน์ทุกคนกลายมาเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านศิลปะการตกแต่งภายใน ที่จะสามารถช่วยสร้างบรรยากาศให้ความว่างเปล่า (Space) ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาโดยสถาปนิกให้มีความน่าดึงดูด มีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ร่วมกับการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยภายในพื้นที่เป็นสำคัญ

  2. วิสัยทัศน์ สถาปนิก: ในโครงการก่อสร้างใด ๆ สถาปนิก คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการวางแนวความคิดและออกแบบโครงสร้างทั้งหมด โดยสถาปนิกจะเริ่มต้นกระบวนการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของตัวอาคารผ่านการกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างโดยรวม ร่วมกับการคำนึงถึงรูปแบบของพื้นที่ การใช้งาน ความสวยงาม ความสมบูรณ์ของโครงสร้าง ไปจนถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ นอกจากนี้ สถาปนิกจะมีการทำงานร่วมกันกับวิศวกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนการออกแบบจะไม่เพียงแต่มีความสวยงามและน่าพึงพอใจเท่านั้น แต่ยังจะต้องมีความปลอดภัยและความมั่นคงอีกด้วย อินทีเรียดีไซน์: หลังจากการวางแปลนทางด้านสถาปัตยกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อินทีเรียดีไซน์จะเป็นผู้ที่รับช่วงต่อในการเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียดของโครงสร้างเพื่อมุ่งเน้นไปที่การช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสวยงามของพื้นที่ที่จะทำการออกแบบตกแต่งภายใน โดยความรับผิดชอบของอินทีเรียดีไซน์จะเกี่ยวข้องกับการเลือกวัสดุ การจัดเฟอร์นิเจอร์ การเลือกโทนสี แสงไฟ และการตกแต่ง ไปจนถึงการเลือกอุปกรณ์เสริมที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดในการออกแบบอย่างครอบคลุม เพื่อเป็นการช่วยเติมชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ที่สถาปนิกสร้างขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการช่วยให้ทุกพื้นที่สามารถใช้งานได้จริงและช่วยตอบสนองต่อความต้องการที่มีความเฉพาะตัวของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ขอบเขตในการทำงาน สถาปนิก: สถาปนิกมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่เป็นนามธรรมให้กลายมาเป็นโครงสร้างแบบรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ โดยสถาปนิกจะเป็นผู้ที่นำความเชี่ยวชาญมาใช้ในการกำหนดรากฐานและการจัดลำดับความสำคัญในการออกแบบที่จะครอบคลุมในส่วนของการออกแบบโดยรวม ฟังก์ชันการทำงาน และความปลอดภัยของอาคาร นับตั้งแต่การกำหนดพิมพ์เขียวเบื้องต้น ไปจนถึงการดูแลรายละเอียดที่ซับซ้อนของการก่อสร้าง นอกจากนี้ หน้าที่รับผิดชอบของสถาปนิกยังไม่ได้มีเพียงแค่ในส่วนของการออกแบบพื้นที่ให้มีความน่าดึงดูดสายตาเท่านั้น แต่พื้นที่ที่ถูกออกแบบขึ้นมายังจำเป็นที่จะต้องใช้งานได้จริงบนพื้นฐานของความเป็นเหตุและเป็นผล เพื่อการช่วยสร้างสมดุลระหว่างการแสดงออกทางศิลปะและวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ของโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อินทีเรียดีไซน์: ในทางกลับกันอินทีเรียดีไซน์ จะมุ่งเน้นความสนใจไปที่พื้นที่เล็ก ๆ ภายในขอบเขตทางสถาปัตยกรรม โดยถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์หลักในด้านของการช่วยเพิ่มสุนทรียภาพในการออกแบบจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอินทีเรียดีไซน์ แต่จุดสนใจหลักของอินทีเรียดีไซน์ทุกคน คือ การช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพื้นที่ภายในกรอบสถาปัตยกรรม ร่วมกับการช่วยรังสรรค์ความสวยงาม บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับโครงสร้างภายนอกของตัวอาคาร ผ่านการเลือกและจัดองค์ประกอบต่าง ๆ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ แสงสว่าง และการตกแต่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การออกแบบพื้นที่ทุกตารางนิ้วจะสามารถผสมผสานสไตล์และการใช้งาน เพื่อการช่วยตอบสนองต่อความต้องการและความปรารถนาของผู้พักอาศัยทุกคนได้อย่างราบรื่น

  4. การทำงานร่วมกันของสถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์ สถาปนิก: ด้วยบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบของโครงสร้างภายนอก ส่งผลให้การทำงานร่วมกันจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานสถาปนิก โดยสถาปนิกจะทำงานร่วมกับลูกค้า วิศวกร โครงสร้าง ผู้รับเหมา ทีมงานก่อสร้าง และอินทีเรียดีไซน์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังต้องอาศัยทักษะในการสื่อสารและการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าวิสัยทัศน์ของลูกค้าจะถูกนำมาทำให้กลายเป็นความเป็นจริงที่สามารถจับต้องขึ้นมาได้ อีกทั้งลักษณะภายนอกและภายในของอาคารจะได้รับการผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด อินทีเรียดีไซน์: อินทีเรียดีไซน์เป็นผู้ที่ต้องทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อการทำความเข้าใจกับความชอบและความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ อินทีเรียดีไซน์ยังจำเป็นจะต้องมีการพูดคุยและประสานงานร่วมกับสถาปนิก ผู้รับเหมา ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และช่างฝีมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าวิสัยทัศน์ของตนเองและลูกค้าจะถูกนำมาแปลความหมายให้กลายเป็นความเป็นจริงที่สามารถจับต้องและใช้งานได้จริงภายใต้พารามิเตอร์ที่กำหนดโดยการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการออกแบบภายในที่ประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างสุนทรียภาพ การใช้งาน และไลฟ์สไตล์ของลูกค้ารวมเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน


หากจะอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น "สถาปนิกก็เปรียบได้กับร่างกายของคนเราที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่อินทีเรียดีไซน์เปรียบได้กับเสื้อผ้าที่ถูกนำมาสวมใส่เพื่อประโยชน์ใช้สอยในการทำให้ร่างกายอบอุ่น ร่วมกับการช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีความสวยงามน่ามองมากยิ่งขึ้น" เพราะฉะนั้นแล้ว การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองอาชีพอย่าง สถาปนิกและอินทีเรียดีไซน์จึงไม่เพียงแต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการเดินทางบนเส้นทางของการออกแบบเท่านั้น แต่ยังสำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการรังสรรค์พื้นที่ในฝันของตนเองให้เป็นมีความเป็นเลิศในด้านการออกแบบอีกด้วย


The Collective เราคือบริษัทออกแบบที่พร้อมให้บริการด้านการออกแบบและผลิตงานสถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่งภายใน อินทีเรียดีไซน์ กราฟิกและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์แบบครบวงจร โดยสถาปนิก อินทีเรียดีไซน์ และนักออกแบบมืออาชีพในทุกสาขาวิชา ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพสูง โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด




ติดต่อ The Collective บริษัทออกแบบตกแต่งภายในและอินทีเรียดีไซน์


Tags:

bottom of page